โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ในที่ราชพัสดุ บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
บริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิในการดำเนินงานในโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในที่ดินราชพัสดุบริเวณสถานขนส่งหมอชิตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โครงการนี้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางการขนส่งคมนาคม (Transportation Hub) โดยมีสถานีกลางขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมทั้งมีการพัฒนาคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ในพื้นที่โครงการนี้ด้วย
ข้อมูลโครงการ
โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในที่ดินราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต มีพื้นที่ประมาณ 63-0-94 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพ ภายในพื้นที่โครงการประกอบด้วย
อาคารสำนักงาน
อาคารที่พักอาศัย
โรงแรม
ศูนย์การค้า
อาคารจอดรถ
ศูนย์ประชุม
สถานีรับส่งผุ้โดยสาร โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด
ระยะเวลาก่อสร้าง: 60 เดือน (5 ปี) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564
สถานีขนส่งผู้โดยสาร
เป็นสถานีจอดรับ-ส่งผู้โดยสารรูปแบบใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพพร้อมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการกำหนดเวลาเข้า-ออกสถานีขนส่งของรถโดยสารตามตารางเวลา ให้บริการแบบการใช้ชานชาลาร่วมกัน ลักษณะเดียวกับสนามบิน มีระบบการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้โดยสารโดยการแสดงข้อมูลรถโดยสารและชานชาลาด้วยระบบสารสนเทศ มีระบบการตรวจสอบตั๋วและตรวจความปลอดภัยที่ชานชาลาก่อนโดยสาร มีระบบตู้ขายตั๋วอัตโนมัติและออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชน
รูปแบบการจราจรเข้าและออกจากโครงการ
ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนพหลโยธิน ฝั่งมุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว
เป็นทางยกระดับบนถนนพหลโยธินฝั่งขาออก สำหรับรถที่ออกจากโครงการมุ่งหน้าไปยังห้าแยกลาดพร้าว เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ที่ต้องการมุ่งไปทางทิศเหนือ สามารถบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรของจุดกลับรถบริเวณแยกกำแพงเพชร และช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรที่จะออกจากโครงการด้านถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบด้านจราจรบริเวณห้าแยกลาดพร้าว โครงการมีแนวคิดที่จะขยายทางยกระดับไปลงบนถนนวิภาวดีรังสิตก่อนถึงด่านโทลล์เวย์ลาดพร้าว
ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนพหลโยธิน ฝั่งมุ่งหน้าสะพานควาย
เป็นทางยกระดับที่บูรณาการกับโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ช่วงบริเวณถนนพหลโยธินและถนนกำแพงเพชร ผู้ที่เดินทางมาจากสะพานควายสามารถเลี้ยวซ้ายไปขึ้นทางยกระดับจากถนนกำแพงเพชร 2 เข้าสู่โครงการ เป็นการบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรของจุดกลับรถบริเวณห้าแยกลาดพร้าว นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายกับพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยสามารถรองรับผู้เดินทางที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกายมาสู่โครงการได้อย่างสะดวก
ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนวิภาวดีรังสิตและดอนเมืองโทลเวย์
เป็นทางยกระดับเพื่อเชื่อมพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารในอาคารกับถนนวิภาวดีรังสิตกับดอนเมืองโทลล์เวย์ สามารถรองรับรถโดยสารและรถยนต์ที่ใช้ดอนเมืองโทลล์เวย์ในทิศมุ่งเหนือออกจากโครงการและทิศมุ่งใต้เข้าสู่โครงการ มีทางขึ้น-ลงเชื่อมกับถนนวิภาวดีรังสิตสำหรับรถที่ไม่ต้องการใช้ทางด่วน ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรที่เกิดจากรถโดยสารขนาดใหญ่โดยให้แยกใช้ทางยกระดับเข้า-ออกพื้นที่สถานีขนส่งโดยตรง นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้า-ออกโครงการสำหรับผู้ที่เดินทางมายังโครงการนอกเหนือจากทางเข้า-ออกบนถนนพหลโยธิน
แบบจำลองการจราจรในบริเวณโครงการ
ทีมงานที่ปรึกษาโครงการ
ที่ปรึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม
บมจ. ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์
สถาปนิกโครงการ
บจก. เก็นสเล่อร์(ประเทศไทย)
ที่ปรึกษาด้านการจราจร
บจก. ซิสตร้า เอ็มวีเอ (ไทยแลนด์)
ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมโครงสร้าง
บจก. เค.ซี.เอส.แอนด์.แอสโซซิเอทส์
ที่ปรึกษาการก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน
บจก. สแตรตีเจีย เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ส
ที่ปรึกษาออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม
บจก. ฉมา
ที่ปรึกษางานสำรวจ
บจก. เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์
ที่ปรึกษาด้านงานระบบ
บจก. มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์
ที่ปรึกษาบริหารโครงการ
บจก. ทรัสตี้ โปรเจค แมเนจเมนต์
ติดต่อเรา
123 อาคารซันทาวเวอร์ส เอ ชั้น 32 วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล จตุจักร กทม. 10900
02-651-5615 ต่อ 126